คำนิยาม

บูรณภาพการวิจัย (Research Integrity) หมายถึง การดำเนินงานวิจัยด้วยความซื่อสัตย์และซื่อตรงต่อหลักการ รวมถึงการมีศีลธรรมจรรยา ทัศนคติ และการประพฤติในการทำวิจัยที่เหมาะสม สอดคล้องตามหลักจริยธรรม กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานการวิจัย ซึ่งจะทำให้สาธารณชนเกิดความเชื่อถือและไว้วางใจต่อวิธีการทดลองและข้อค้นพบที่ได้จากงานวิจัย

จริยธรรมการวิจัย (Research Ethics) หมายถึง การดำเนินงานวิจัยด้วยความรับผิดชอบ โดยการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมหรือค่านิยมในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ตั้งแต่การออกแบบและวางแผนการวิจัย การปฏิบัติต่ออาสาสมัคร หรือสัตว์ทดลองในโครงการวิจัย ตลอดจนการนำผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น

ดังนั้น "จริยธรรมการวิจัย" (Research Ethics) จึงมีความหมายที่กว้างกว่า "บูรณภาพการวิจัย" (Research Integrity)

การประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย (Research Misconduct) หมายถึง การประพฤติที่ขัดต่อหลักปฏิบัติและหลักการจริยธรรมการวิจัยที่นักวิจัยพึง ยึดถือปฏิบัติ เช่น การสร้างทฤษฎี เรื่องราว และ/หรือข้อมูลเท็จ (fabrication) การปลอมแปลงหรือบิดเบือนข้อมูล (falsification) การลักลอกข้อมูล (plagiarism) และการลักลอกข้อมูลของตนเอง (self-plagiarism

ข้อมูล : หนังสือบทเรียนและกรณีศึกษาด้านจริยธรรมการวิจัย
โดย คณะผู้เชี่ยวชาญด้านจริยธรรมการวิจัยของประเทศ
(Thailand Research Integrity Network: TH-RIN)
และฝ่ายพัฒนาคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย (QRI)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)