บทบาทของสถาบันที่เกี่ยวข้อง
สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และหน่วยงานต้นสังกัดมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านจริยธรรมการวิจัย ซึ่งควรมีหลักการและแนวปฏิบัติที่ควบคุมการดำเนินการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสัตว์ หรือการวิจัยรูปแบบอื่นที่ต้องมีการพิจารณาทางจริยธรรม โดยการดำเนินงานเหล่านี้จะมีส่วนช่วยให้แน่ใจว่าการวิจัยจะดำเนินการในลักษณะที่มีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบ โดยภาพรวมของบทบาทในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านจริยธรรมการวิจัยมีดังนี้
- การกำหนดแนวปฏิบัติและนโยบายด้านจริยธรรม
- การจัดหาทรัพยากรและการสนับสนุน
- การพัฒนาศักยภาพบุคลากร โดยการเสริมสร้างความรู้และความตระหนักด้านจริยธรรมการวิจัย
- การทบทวนและพิจารณาด้านจริยธรรมของโครงการวิจัย
- การติดตามและการปฏิบัติตามข้อกำหนด
- การจัดให้มีหน่วยงานที่สนับสนุนการดำเนินงานด้านจริยธรรมการวิจัยของสถาบัน
- การสนับสนุนและการมีส่วนร่วมกับสาธารณะ
- สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และหน่วยงานต้นสังกัดจะต้องจัดให้มีแนวทางการจัดการเมื่อเกิดการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย
- การรับเรื่องร้องเรียน
- การพิจารณาข้อร้องเรียน/การสืบข้อเท็จจริง
- การสอบสวนกรณีการประพฤผิดจริยธรรมการวิจัย
- การรายงานผลการสอบสวนกรณีการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย
ข้อมูล : หนังสือบทเรียนและกรณีศึกษาด้านจริยธรรมการวิจัย
โดย คณะผู้เชี่ยวชาญด้านจริยธรรมการวิจัยของประเทศ
(Thailand Research Integrity Network: TH-RIN)
และฝ่ายพัฒนาคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย (QRI)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://ri.nrct.go.th/pdf/lessonsandcase_ri.pdf